1. หากแรงงานต่างชาติมีผลตรวจคัดกรองแบบรวดเร็วเป็นบวก แรงงานต่างชาติคนอื่นที่พักอาศัยในห้องเดียวกันจะต้องจัดให้อยู่ในห้องเดิม 2. หากแรงงานต่างชาติเป็นผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 แรงงานต่างชาติคนอื่นที่พักอาศัยในห้องเดียวกันจะถือว่าเป็นผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิด นายจ้างจะต้องจัดห้องพัก 1 คน ต่อ 1 ห้อง ให้ดำเนินการแยกกัก
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
นายจ้างควรเตรียมห้องพัก 1 คน ต่อ 1 ห้องไว้ล่วงหน้าเท่ากับจำนวนคนที่ต้องแยกกัก อาจเป็นหอพักที่มีอยู่แล้วหรือห้องเช่าข้างนอกก็ได้
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
1. จะต้องแจ้งให้หน่วยงานสาธารณสุขทราบ และให้ความช่วยเหลือในการตีกรอบรายชื่อที่เข้าข่ายเป็นผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิด 2. ดำเนินการฆ่าเชื้อสถานที่ทำงานและหอพักของแรงงานต่างชาติ 3. แรงงานต่างชาติจะเข้าสู่กระบวนการแยกกักโดยตรงที่สถานกักกันโรค และผู้ที่จำเป็นต้องเข้ารับรักษาจะถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาล
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
นายจ้างควรประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางที่หลากหลาย (เช่น ติดแผ่นโปสเตอร์, ส่งข้อความ SMS, สร้างกลุ่มในซอฟต์แวร์ที่ส่งข้อมูลได้ทันที เช่น ไลน์ หรือฉายวีดิทัศน์ภายในหอพักของแรงงานต่างชาติ) เสริมสร้างแนวคิดด้านสุขศึกษาและการป้องกันโรค และย้ำเตือนแรงงานต่างชาติว่าหากรู้สึกไม่สบาย ต้องรีบแจ้งให้นายจ้างหรือบริษัทจัดหางานทราบทันที หรือโทร 1922 สายด่วนแจ้งเหตุและให้คำปรึกษาโรคระบาด กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ หรือ 1955 สายด่วนของกระทรวงแรงงาน เพื่อขอความช่วยเหลือ และช่วยเหลือแรงงานต่างชาติเพิ่มเพื่อนในแอปพลิเคชันไลน์ “Line@移點通” ของกรมพัฒนากำลังแรงงาน เพื่อรับข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการป้องกันโรค
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
นายจ้างจะต้องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายและบันทึกสุขภาพของแรงงานต่างชาติเป็นประจำทุกวัน โดยจัดทำเป็นรูปเล่ม หากแรงงานต่างชาติมีอาการน่าสงสัยว่าจะเป็นโรคโควิด-19 เช่น มีไข้, ปวดศีรษะ, น้ำมูกไหล, เจ็บคอ, ไอ, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า, ท้องเสีย, ประสาทรับกลิ่นและรสผิดปกติ หรืออาการไม่สบายอื่นๆ จะต้องจัดการให้เข้ารับการรักษาพยาบาลและดำเนินการตรวจคัดกรอง
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
พื้นที่ส่วนกลางของหอพักแรงงานต่างชาติ (เช่น พื้นที่สำหรับซักผ้า) จะต้องแบ่งเวลาสลับกันใช้งานตามชั้นหรือโซนที่พักอาศัย เพื่อหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่ม ตัวอย่างเช่น กำหนดช่วงเวลาเพื่อแบ่งแยกแรงงานต่างชาติที่อาศัยอยู่คนละชั้น ในการใช้พื้นที่ซักผ้า เช่น แรงงานต่างชาติที่อยู่ชั้น A ใช้ในวันเสาร์ และแรงงานต่างชาติที่อยู่ชั้น B ใช้ในวันอาทิตย์
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
1. พื้นที่ส่วนกลางของหอพัก จะต้องแบ่งเวลาสลับกันใช้งานตามชั้นหรือโซน 2. ห้ามแรงงานต่างชาติเคลื่อนย้ายไปยังชั้นอื่นหรือโซนอื่นนอกเหนือจากชั้นที่ตั้งของพื้นที่ส่วนกลาง แรงงานต่างชาติที่พักอาศัยคนละชั้นหรือคนละโซน ห้ามใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในพื้นที่ส่วนกลางในช่วงเวลาเดียวกันหรือรับประทานอาหารร่วมกัน 3. พื้นที่สำหรับรับประทานอาหารในสถานที่ทำงานหรือหอพักจะต้องเว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ 1.5 เมตรขึ้นไป หรือติดตั้งฉากกั้น หรือใช้โต๊ะอาหารที่มีฉากกั้น โรงอาหารในลักษณะบริการตนเองจะต้องมีฝาครอบอาหารที่เหมาะสม หรือเปลี่ยนเป็นการรับประทานอาหารกล่องแทน 4. นายจ้างจะต้องดำเนินการฆ่าเชื้อและทำความสะอาดสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานและหอพักเป็นประจำตามเวลาที่กำหนด และจะต้องมีสบู่, น้ำสะอาด หรือเจลล้างมือแบบผสมแอลกอฮอล์ให้ด้วย 5. ยานพาหนะขนส่งและรถประจำทางจะต้องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของแรงงานต่างชาติก่อนขึ้นรถและบังคับให้สวมหน้ากากอนามัย นอกจากนี้ จะต้องมีกระบวนการทำความสะอาดภายในรถเป็นประจำ (อย่างน้อยทุกๆ 6 ชั่วโมง) ดำเนินการฆ่าเชื้อบนพื้นผิวของวัตถุที่มีการสัมผัสบ่อยครั้ง และจัดให้เว้นที่ว่างสำหรับแยกผู้โดยสาร 6. นายจ้างจะต้องมีมาตรการควบคุมการเข้า-ออกในสถานที่ทำงานและหอพักของแรงงานต่างชาติ และจะต้องจดบันทึกข้อมูลประวัติการเดินทาง, ประวัติการสัมผัส และมีการรวมกลุ่มหรือไม่
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
1. บริษัทจัดหางานห้ามจัดให้แรงงานต่างชาติที่สังกัดนายจ้างต่างกันพักอาศัยบนชั้นเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแพร่กระจายของเชื้อในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 หากบริษัทจัดหางานได้รับมอบหมายจากนายจ้างหลายบริษัทในเวลาเดียวกัน จะต้องจัดให้แรงงานต่างชาติคนละสังกัดพักอาศัยกันคนละชั้น 2. เนื่องจากผู้อนุบาลในครัวเรือนต้องอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ที่ต้องได้รับการดูแล ดังนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับใช้ตามกฎข้อนี้ แต่นายจ้างยังคงต้องดำเนินการตามคู่มือแนวทางปฏิบัติมาตรการป้องกันโรคอื่นๆ เช่น การตรวจสอบอาการสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
การแยกแรงงานต่างชาติไม่ให้อาศัยปะปนกันร่วมกัน ก็เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้บริษัทจัดหางานที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้างหลายบริษัทในเวลาเดียวกันจัดให้แรงงานต่างชาติคนละสังกัดนายจ้างต่างพักอาศัยกันบนชั้นเดียวกัน หากนายจ้างดำเนินการจัดการหอพักในแรงงานต่างชาติเอง ไม่อยู่ในบังคับใช้ของกฎข้อนี้
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
ห้ามบริษัทจัดหางานจัดให้แรงงานต่างชาติที่สังกัดนายจ้างเดียวกัน แต่สถานที่ทำงานอยู่คนละแห่งกันพักอาศัยบนชั้นเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแพร่กระจายของเชื้อในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13
แรงงานต่างชาติที่พักอาศัยในห้องเดียวกัน ต้องจัดให้ทำงานในพื้นที่เดียวกัน สายการผลิตเดียวกัน หรือตำแหน่งหน้าที่เดียวกันภายในสถานที่ทำงานเดียวกัน หลีกเลี่ยงมิให้ปะปนกับแรงงานต่างชาติที่พักอาศัยอยู่ห้องอื่น นอกจากนี้ แรงงานต่างชาติที่ทำงานคนละพื้นที่หรือคนละสายการผลิต การเข้า-ออกเวลาเข้างาน-เลิกงานควรใช้ทางเข้า-ออกคนละทางหรือลิฟต์คนละตัว และควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายข้ามโซนพื้นที่ของพนักงาน
- วันที่ประกาศ :2021/08/11
- วันที่อัพเดท :2021/08/13