跳至主要內容
:::
~
~

ถือว่านายจ้างละเมิดกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 57 อนุมาตราย่อย 4 ซึ่งหน่วยงานแรงงานท้องถิ่นจะเป็นผู้ตรวจสอบและลงโทษต่อไป

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

จะต้องส่งข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในการตรวจสอบให้แก่หน่วยงานแรงงานประจำท้องถิ่น ทั้งของสถานที่ทำงานเดิมและสถานที่ทำงานใหม่

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

ได้ แต่เพื่อมิให้เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากรบุคคลที่ถี่จนเกินไป อันจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ แรงงานต่างชาติจะต้องทำงานในสถานที่ทำงานแต่ละแห่งครบ 60 วัน และผลตรวจ PCR ตามระเบียบเป็นผลลบ จึงจะสามารถย้ายสถานที่ทำงานได้ เช่น หากนายจ้างในธุรกิจก่อสร้าง จัดให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจ PCR ภายในเวลา 3 วันก่อน (รวม) วันที่ยื่นขออนุญาต และมีผลตรวจเป็นผลลบ หากได้รับการอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน จะสามารถย้ายสถานที่ทำงานจากจุด A ไปยังจุด B ได้ และหลังจากที่แรงงานต่างชาติผู้นั้นทำงานที่จุด B จนครบ 60 วันขึ้นไปแล้ว นายจ้างสามารถจัดให้เข้ารับการตรวจ PCR อีกครั้ง และมีผลตรวจเป็นผลลบ ก็จะสามารถยื่นขออนุญาตจากกระทรวงแรงงานในการขอย้ายสถานที่ทำงานจากจุด B ไปยังจุด C ได้

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

ใช่ ทุกครั้งที่นายจ้างย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติ จะต้องทำงานอยู่ในสถานที่ใหม่ตั้งแต่ 60 วันขึ้นไป จึงจะสามารถสั่งให้แรงงานต่างชาติย้ายสถานที่ทำงานอีกครั้ง

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

ไม่ได้ หากนายจ้างที่ต้องขออนุญาตก่อนการย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติ ต้องการย้ายแรงงานต่างชาติกลับไปทำงานในสถานที่เดิมหรือย้ายไปทำงานในสถานที่อื่น ก่อนทำงานครบ 60 วัน กระทรวงแรงงงานจะไม่อนุมัติให้ย้ายสถานที่ทำงาน สำหรับนายจ้างที่สามารถย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติโดยส่งข้อมูลให้หน่วยงานแรงงานในท้องถิ่นเพื่อใช้อ้างอิงในการตรวจสอบ ถ้ามีการย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติแต่ยังทำงานไม่ครบ 60 วัน แล้วทำการย้ายกลับมาทำงานในสถานที่เดิมหรือย้ายไปทำงานในสถานที่อื่น จะถูกตัดสินตามกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 57 อนุมาตราย่อย 4

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

ไม่ โดยนายจ้างต้องปฏิบัติตามหนังสือกรมพัฒนากำลังแรงงาน กระทรวงแรงงานที่ 1040512600 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งกำหนดไว้ว่า การส่งแรงงานต่างชาติไปทำงานในสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญากับลูกค้า (งานที่เป็นส่วนขยายเพิ่มเติมจากงานเดิม) จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างชาติและมีความเสี่ยงในการติดเชื้อค่อนข้างสูง จึงยังไม่อนุญาตเป็นการชั่วคราว แต่จะพิจารณาตามสถานการณ์แพร่ระบาดเพื่อทำการปรับเปลี่ยนในอนาคตต่อไป

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

1. หากนายจ้างที่ต้องขออนุญาตก่อนการย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติ ไม่จัดให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจ PCR ภายในเวลาที่กำหนด กระทรวงแรงงานจะไม่อนุมัติการย้ายสถานที่ทำงาน และหากนายจ้างที่สามารถย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติโดยส่งข้อมูลให้หน่วยงานแรงงานในท้องถิ่นเพื่อใช้อ้างอิงในการตรวจสอบ ถ้ามีการย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติจริงและนายจ้างไม่ได้จัดให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจ PCR หรือมิได้ส่งผลการตรวจให้หน่วยงานแรงงานท้องถิ่นใช้ในการตรวจสอบต่อไป จะมีโทษปรับตามกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 57 อนุมาตราย่อย 4 และมาตรา 68 อนุมาตรา 1 เป็นเงินตั้งแต่ 30,000 เหรียญไต้หวันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 150,000 เหรียญไต้หวัน หากเป็นการฝ่าฝืนครั้งที่ 2 ขึ้นไป จะถูกยกเลิกใบอนุญาตการจ้างงานและถูกควบคุมจำนวนการว่าจ้างแรงงานต่างชาติ 2. หากนายจ้างมอบหมายให้หน่วยงานบริการจัดหางานเอกชน (เรียกโดยย่อว่า บริษัทจัดหางาน) มาเป็นผู้ดูแลชีวิตประจำวันของแรงงานต่างชาติ และบริษัทจัดหางานเกิดความเลินเล่อจนทำให้นายจ้างฝ่าฝืนกฎระเบียบ บริษัทจัดหางานจะมีโทษปรับตามกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 40 อนุมาตรา 1 อนุมาตราย่อย 15 เป็นเงินตั้งแต่ 60,000 เหรียญไต้หวัน แต่ไม่เกิน 300,000 เหรียญไต้หวัน

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

1. แรงงานต่างชาติประเภทผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้านที่ทำงานในครัวเรือน มิได้ถูกห้ามเปลี่ยนสถานที่ทำงาน หากมีการเปลี่ยนสถานที่ทำงานก่อนวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ก็ยังคงทำงานในสถานที่ทำงานในปัจจุบันต่อไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องจัดให้เข้ารับการตรวจ PCR 2. ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป หากมีความจำเป็นต้องย้ายสถานที่ทำงานกลับไปยังสถานที่เดิมที่ได้รับอนุญาตหรือไปยังสถานที่อื่น จะต้องจัดให้แรงงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจ PCR และต้องมีผลการตรวจเป็นผลลบ จึงจะสามารถย้ายสถานที่ทำงานได้

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

1. จัดให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจ PCR: (1) นายจ้างที่ต้องขออนุญาตก่อนการย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติ: สำหรับนายจ้างที่ประกอบธุรกิจในภาคก่อสร้างและภาคการผลิตบางส่วน ก่อนการย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติ จะต้องขออนุญาตจากกระทรวงแรงงาน โดยนายจ้างจะต้องจัดให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจ PCR ภายในเวลาไม่เกิน 3 วันก่อน (รวม) วันที่ยื่นขออนุญาต และผลการตรวจ PCR ของแรงงานต่างชาติจะต้องมีผลเป็นลบ จึงจะสามารถยื่นขออนุญาตได้ นอกจากนี้ หลังจากการทำงานในสถานที่ทำงานแห่งใหม่เสร็จสิ้นลงแล้ว นายจ้างจะต้องขออนุญาตต่อกระทรวงแรงงานเพื่อทำการย้ายแรงงานต่างชาติให้กลับมาทำงานในสถานที่เดิมที่เคยได้รับการอนุมัติไว้หรือย้ายไปทำงานยังสถานที่อื่น โดยต้องจัดให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจ PCR ภายในเวลาไม่เกิน 3 วันก่อน (รวม) วันที่ยื่นขออนุญาต และผลการตรวจ PCR ของแรงงานต่างชาติจะต้องมีผลเป็นลบ (2) นายจ้างที่ไม่ต้องขออนุญาตก่อนการย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติ: นายจ้างต้องจัดให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจ PCR ภายในเวลา 3 วัน (รวม) ก่อนวันที่จะย้ายสถานที่ทำงาน และผลการตรวจ PCR ของแรงงานต่างชาติจะต้องมีผลเป็นลบ จึงจะสามารถย้ายสถานที่ทำงานได้ โดยก่อนการย้ายสถานที่ทำงานจะต้องส่งผลการตรวจ PCR ให้หน่วยงานแรงงานท้องถิ่น สำหรับใช้อ้างอิงในการตรวจสอบต่อไป นอกจากนี้ หลังจากการทำงานในสถานที่ทำงานแห่งใหม่เสร็จสิ้นลงแล้ว นายจ้างสามารถย้ายแรงงานต่างชาติให้กลับมาทำงานในสถานที่เดิมที่เคยได้รับการอนุมัติไว้หรือย้ายไปทำงานยังสถานที่อื่น แต่ต้องจัดให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจ PCR ภายในเวลาไม่เกิน 3 วันก่อน (รวม) วันที่ที่จะย้ายสถานที่ทำงาน และผลการตรวจ PCR ของแรงงานต่างชาติต้องส่งผลการตรวจ PCR ให้หน่วยงานแรงงานในท้องถิ่น สำหรับใช้อ้างอิงในการตรวจสอบต่อไป 2. นายจ้างต้องดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติในการจัดให้มีมาตรการป้องกันโรค: หากผลการตรวจ PCR ของแรงงงานต่างชาติเป็นผลบวก นายจ้างจะต้องทำตามหน้าที่ของนายจ้างให้ดีที่สุด และให้ปฏิบัติตาม “แนวทางปฏิบัติสำหรับนายจ้างในการว่าจ้างแรงงานต่างชาติช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ในส่วนของข้อควรปฏิบัติในการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน และการออกนอกเคหสถานของแรงงานต่างชาติ” โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุขในการจัดให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการรักษาพยาบาลหรือส่งตัวไปยังสถานกักกันโรค พร้อมทั้งดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยยืนยันที่เป็นโรคโควิด-19 และระเบียบปฏิบัติหลังพ้นจากการกักตัวรักษาและการแยกกักตัวต่อไป และแม้ผลการตรวจ PCR ของแรงงานต่างชาติจะเป็นผลลบ หากแต่นายจ้างยังคงต้องปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังด้วยการตรวจสอบสุขภาพและบันทึกการเข้าออกสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติทุกวัน เช่น ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของแรงงานต่างชาติทุกวัน คอยสังเกตว่าแรงงานต่างชาติมีอาการเป็นไข้ ปวดหัว น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือไม่ ห่วงใยและสอดส่องดูแลการออกนอกเคหสถานของแรงงานต่างชาติ ตรวจสอบประวัติการเดินทาง ประวัติการสัมผัส และการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน เป็นต้น

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

นอกจากนายจ้างจะต้องมีคุณสมบัติที่สอดคล้องตามเกณฑ์การย้ายสถานที่ทำงานแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากรบุคคลที่ถี่จนเกินไป แรงงานต่างชาติที่ถูกย้ายสถานที่ทำงาน จะต้องทำงานในสถานที่ใหม่ติดต่อกันมากกว่า 60 วันขึ้นไป และในระหว่างนี้ห้ามกลับไปทำงานในสถานที่เดิมที่เคยได้รับอนุญาต จึงจะสามารถสั่งให้ย้ายสถานที่ทำงานได้ รวมทั้งยังต้องปฏิบัติตามมาตรการที่เกี่ยวข้องในการป้องกันโรคด้วย

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

1. ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป อนุญาตให้สามารถย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติที่ทำงานในภาคการผลิต ก่อสร้าง ประมง และผู้อนุบาลในศูนย์บำบัดและฟื้นฟู 2. แรงงานต่างชาติประเภทผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้านในครัวเรือน ซึ่งก่อนหน้านี้มิได้ถูกห้ามเปลี่ยนสถานที่ทำงาน จะยังคงสามารถเปลี่ยนสถานที่ทำงานได้เช่นเดิม

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

ตามประกาศของศูนย์บัญชาการควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ให้กลับไปบังคับใช้ตาม “กฎหมายการจ้างงานด้านการกำหนดตำแหน่งงานสำหรับลูกจ้างของนายจ้าง” มาตราที่ 46 อนุมาตรา 1 อนุมาตราย่อย 8 ถึง 10 เกี่ยวกับเกณฑ์การเปลี่ยนสถานที่ทำงานของลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างชาติ (ต่อไปนี้ขอเรียกโดยย่อว่า เกณฑ์การย้ายสถานที่ทำงาน) โดยตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไปอนุญาตให้ย้ายแรงงานไปทำงานในสถานที่ทำงานของนายจ้างรายเดียวกันได้ตามปกติ

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

ไม่ ขณะนี้ยังคงชะลอ "มาตรฐานหลักเกณฑ์การโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงานของชาวต่างชาติที่ประกอบอาชีพตามมาตรา 46 วรรค 1 อนุมาตรา 8 ถึง อนุมาตรา 10 ของกฎหมายการจ้างงาน" เป็นการชั่วคราว และระงับการใช้กฎที่ประกาศในหนังสือจากกรมพัฒนากำลังแรงงาน ฉบับที่ 1040512600 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 (ขยายขอบเขตการทำงาน) เป็นการชั่วคราว โดยพิจารณาว่าการย้ายแรงงานต่างชาติไปทำงานโดยเปลี่ยนสถานที่ทำงานและการขยายขอบเขตงานจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสถานที่ทำงานของแรงงานต่างชาติบ่อย และโรคระบาดจะแพร่กระจายไปตามการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงาน กระทรวงแรงงานจะติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาด และปฏิบัติตามคำแนะนำของศูนย์บัญชาการควบคุมโรค

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

1. ไม่ แรงงานต่างชาติที่ได้รับการว่าจ้างให้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตามกฎหมายแล้วจะต้องไปยังสถานที่ทำงานตามสัญญาจ้างบริการ และไม่ถือเป็นกลุ่มที่อยู่ภายใต้เกณฑ์การส่งตัวไปทำงาน ดังนั้น จึงไม่เข้าข่ายการชะลอการส่งตัวไปทำงานชั่วคราว คณะกรรมการการเกษตร สภาบริหาร ขอให้สถานที่ทำงานที่มีแรงงานต่างชาติในภาคเกษตรจำนวนมากพยายามลดการส่งตัวแรงงานต่างชาติไปทำงานโดยเปลี่ยนสถานที่ทำงาน และขอให้สถานที่ทำงานทุกแห่งปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของแรงงานต่างชาติและความปลอดภัยของสังคม ขอให้นายจ้างภาคเกษตรและสถานที่ทำงานตามสัญญาจ้างบริการปฏิบัติตาม "แนวทางปฏิบัติสำหรับนายจ้างในการจ้างแรงงานต่างชาติช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19): ข้อควรปฏิบัติด้านการทำงาน การดำเนินชีวิต และการออกนอกเคหสถานของแรงงานต่างชาติ" ในการดำเนินการมาตรการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ทำงานและที่พักของแรงงานต่างชาติ

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13

หากนายจ้างส่งแรงงานต่างชาติไปทำงานโดยเปลี่ยนสถานที่ทำงานโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เท่ากับฝ่าฝืนกฎหมายการจ้างงาน มาตรา 57 วรรค 4 มีโทษปรับตามกฎหมายการจ้างงาน 68 วรรค 1 และมาตรา 72 อนุมาตรา 3 ปรับตั้งแต่ 30,000-150,000 เหรียญไต้หวัน ผู้ที่ไม่ทำการปรับปรุงแก้ไขใด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ปรับปรุงแก้ไข จะถูกเพิกถอนจำนวนโควตาการว่าจ้างแรงงานต่างชาติ

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13