跳至主要內容
:::
~
~

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป แรงงานต่างชาติในภาคครัวเรือนที่ลงทะเบียนข้อมูลการเปลี่ยนนายจ้างกับศูนย์บริการจัดหางานของรัฐก่อนวันที่ 5 มิถุนายน 2564 สามารถกลับมาโอนย้ายนายจ้างได้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ส่วนแรงงานต่างชาติประเภทอื่นๆ ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป แรงงานต่างชาติสามารถกลับมาดำเนินการโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงานได้ หากเป็นผู้ที่ลงทะเบียนข้อมูลการเปลี่ยนนายจ้างทาง “เว็บไซต์ข้อมูลคุ้มครองสิทธิประโยชน์แรงงานต่างชาติ” ที่หมวด “สืบค้นการเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างชาติ” แล้วเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2564 และยังอยู่ภายในระยะเวลาที่สามารถโอนย้ายนายจ้างได้ แล้วยังไม่มีนายจ้างใหม่รับโอนย้าย จะได้รับอนุญาตให้โอนย้ายนายจ้างได้ใหม่โดยอัตโนมัติใหม่ภายในระยะเวลา 60 วัน ตามระบบ แรงงานต่างชาติสามารถตรวจสอบความคืบหน้าได้ที่หมวด “สืบค้นการเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างชาติ” ของเว็บไซต์ข้อมูลคุ้มครองสิทธิประโยชน์แรงงานต่างชาติ ตามขั้นตอนดังนี้: 1. เปิดบราวเซอร์ กรอกชื่อเว็บไซต์ https://fw.wda.gov.tw เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ข้อมูลคุ้มครองสิทธิประโยชน์แรงงานต่างชาติ คลิกที่หมวด “สืบค้นการเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างชาติ” 2. หลังจากเข้าสู่หน้า “สืบค้นการเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างชาติ” คลิกที่ “ตรวจสอบข้อมูลของพนักงานต่างชาติที่เปลี่ยนนายจ้าง” 3. หลังจากเข้าสู่หน้า “ตรวจสอบข้อมูลของพนักงานต่างชาติที่เปลี่ยนนายจ้าง” กรอกข้อมูลส่วนตัวของแรงงานต่างชาติที่ต้องการตรวจสอบ ก็สามารถตรวจสอบความคืบหน้าการโอนย้ายนายจ้างได้ทันที

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

เอกสารที่นายจ้างได้มาเพื่อใช้ในการยื่นขออนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติ เนื่องจากวันที่ 6 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป ต้องชะลอการโอนย้ายนายจ้าง อายุการใช้งานของเอกสารเหล่านั้น มีวิธีนับดังนี้: 1. เอกสารรับรองในการสรรหาบุคลากรแรงงานต่างชาติทุกประเภท, เอกสารรรับรองตามกฎหมายการอนุญาตว่าจ้างและบริหารแรงงานต่างชาติ มาตรา 16 วรรค 1 อนุมาตรา 5, หนังสือรับรองระดับอุตสาหกรรมการผลิต, หนังสือรับรองคุณสมบัติในการว่าจ้างสำหรับงานเกษตรกรรม ป่าไม้ ประมง และปศุสัตว์ นับอายุจากระยะเวลาที่ใช้งานได้เดิม เพิ่มอีก 30 วัน 2. วันที่ประเมินผลของคณะแพทย์ในสถานพยาบาลในการว่าจ้างผู้อนุบาลในครัวเรือน นับอายุจากระยะเวลายื่นขออนุญาตที่ใช้งานได้เดิม เพิ่มอีก 30 วัน, วันที่ลงในจดหมายแนะนำของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวว่าผู้ที่ต้องได้รับการดูแลมีความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจขั้นรุนแรง นับอายุจากระยะเวลาที่ใช้งานได้เดิม เพิ่มอีก 30 วัน ก่อนที่นายจ้างจะยื่นขออนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขออนุญาตทั้งหมดจะใช้สำหรับตรวจสอบว่านายจ้างมีคุณสมบัติในการว่าจ้างแรงงานต่างชาติหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างชาติ

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

1. การโอนย้ายระหว่างสัญญา: ในระหว่างอายุสัญญาจ้างงานเดิมของแรงงานต่างชาติยังไม่ครบกำหนด แรงงานต่างชาติและนายจ้างใหม่ตกลงที่จะโอนย้ายระหว่างสัญญา เพื่อไปทำงานในสถานที่ทำงานของนายจ้างใหม่ ตัวอย่างเช่น: SITI เป็นแรงงานต่างชาติ สัญญาจ้างเดิมจะครบกำหนดสัญญาในวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ก่อนหน้านั้น วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ตกลงกับอาหมิงผู้เป็นนายจ้างใหม่ โดยอาหมิงรับโอนย้ายระหว่างสัญญาให้มาดูแลบิดาผู้ไร้ความสามารถที่บ้าน ถือว่าเป็นการโอนย้ายระหว่างสัญญา ตามหลักการแล้ว อาหมิงผู้เป็นนายจ้างใหม่จะต้องดำเนินการให้แรงงานต่างชาติตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี PCR ภายใน 3 วันก่อนวันที่รับโอนย้ายในวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 (รวมวันนั้นด้วย หมายถึงวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2564) 2. โอนย้ายนายจ้างระหว่างสัญญาที่ศูนย์บริการจัดหางานของรัฐ: นายจ้างใหม่รับโอนย้าย SITI แรงงานต่างชาติ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ตามหลักการแล้ว นายจ้างใหม่จะต้องดำเนินการให้แรงงานต่างชาติตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี PCR ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ซึ่งเป็นวันรับโอนย้าย 3. การโอนย้ายนายจ้างเมื่อครบกำหนดสัญญา: ก่อนที่ใบอนุญาตทำงานเดิมจะครบกำหนด นายจ้างใหม่ต้องดำเนินการยื่นขอโอนย้ายนายจ้างหลังจากครบกำหนดสัญญา รอจนกระทั่งสัญญาจ้างเดิมสิ้นสุดลงแล้ว จึงโอนย้ายไปทำงานที่บ้านของนายจ้างใหม่ ตัวอย่างเช่น: SITI เป็นแรงงานต่างชาติ สัญญาจ้างเดิมจะครบกำหนดสัญญาในวันที่ 30 สิงหาคม 2564 เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม 2564 ได้ทำการยื่นขอโอนย้ายไปทำงานที่บ้านของอาหมิงผู้เป็นนายจ้างใหม่หลังจากสัญญาจ้างเดิมครบกำหนด โดยได้รับการอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน เมื่อถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 จึงจะไปทำงานที่บ้านของอาหมิง นายจ้างใหม่ ดังนั้น วันที่ 31 สิงหาคม ถือเป็นวันที่เริ่มต้นสัญญาจ้างงานใหม่ ตามหลักการแล้ว อาหมิงผู้เป็นนายจ้างใหม่จะต้องดำเนินการให้แรงงานต่างชาติตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี PCR ภายใน 3 วันก่อนวันที่ 31 สิงหาคม 2564 (รวมวันนั้นด้วย หมายถึงวันที่ 29-31 สิงหาคม 2564

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป อนุญาตให้สามารถโอนย้ายนายจ้างได้ทุกประเภทงาน หากแรงงานต่างชาติในภาคครัวเรือนต้องการโอนย้ายนายจ้างไปทำงานประเภทอื่น ต้องเป็นไปตามมาตรฐานหลักเกณฑ์การโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงานของชาวต่างชาติที่ประกอบอาชีพตามมาตรา 46 วรรค 1 อนุมาตรา 8 ถึง อนุมาตรา 11 ของกฎหมายการจ้างงาน

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

1. ตามที่ศูนย์บัญชาการควบคุมโรคประกาศ แรงงานต่างชาติทุกประเภทจะกลับมาโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงานได้ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป นอกจากนี้ แรงงานประเภทในครัวเรือนได้กลับมาโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงานได้ก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป 2. แรงงานต่างชาติทุกประเภท รวมถึงแรงงานที่ประกอบอาชีพงานประมงทะเล, งานผู้ช่วยงานบ้านในครัวเรือน, งานภาคการผลิต, งานส่วนขยายภาคการผลิต, งานก่อสร้าง, งานฆ่าสัตว์, งานส่วนขยายภาคเกษตร, งานเกษตรกรรม ป่าไม้ หรือฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา, งานผู้อนุบาลในองค์กรและผู้อนุบาลในครัวเรือน

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

ใช่ แม้นายจ้างคนก่อนและหลังในคำถามนี้จะเป็นคนเดียวกัน แต่ตามหลักการรับโอนย้ายระหว่างสัญญาแล้ว หากหลังจากยกเลิกความตกลงว่าจ้างไปแล้วกลับมารับโอนย้ายแรงงานต่างชาติคนเดียวกันใหม่ ถือว่านายจ้างรายนั้นยังคงเป็น "นายจ้างใหม่" ตามกฎหมาย ในระหว่างที่แรงงานต่างชาติรอการโอนย้าย หรือมีการพักอาศัยที่อื่น เพื่อเป็นการรับรองความปลอดภัยในช่วงสถานการณ์โรคระบาด ยังคงต้องจัดการให้แรงงานต่างชาติทำการตรวจ PCR ตามหนังสือตีความของกระทรวงแรงงาน ลงวันที่ 13 ก.ค. 2564

  • วันที่ประกาศ :2021/08/12
  • วันที่อัพเดท :2021/08/15

1. หลังจากแรงงานต่างชาติเดินทางเข้าประเทศแล้วอยู่ในระหว่างกักตัวในสถานกักกันโรคหรือกักตัวในที่พักอาศัย ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ไม่ถือว่าเกิดจากแรงงานและนายจ้างทั้งสองฝ่าย ตามกฎหมายแล้วไม่ได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ดังนั้น ขึ้นอยู่กับแรงงานและนายจ้างทั้งสองฝ่ายจะเจรจาตกลงกันว่าจะจ่ายค่าจ้างหรือไม่ แต่หากในระหว่างกักตัวตรงกับวันหยุดพักผ่อนตามสัญญาจ้างงาน แรงงานไม่ต้องทำหน้าที่ปฏิบัติงานและต้องได้รับค่าจ้าง ดังนั้น นายจ้างยังคงต้องจ่ายค่าจ้างตามเดิม 2. ตาม "มาตรการชดเชยการขาดรายได้ระหว่างการแยกกักและกักกันโรคตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19" มาตรา 3 วรรค 1 วันที่แรงงานต่างชาติไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างกักตัว สามารถยื่นขอเงินชดเชยจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการได้ หากเป็นวันที่ได้รับค่าจ้าง ไม่สามารถรับเงินชดเชยตามมาตรการป้องกันโรคซ้ำได้อีก

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป แรงงานต่างชาติในภาคครัวเรือนสามารถกลับมาดำเนินการโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงานได้ หากเป็นผู้ที่ลงทะเบียนข้อมูลการเปลี่ยนนายจ้างทาง “เว็บไซต์ข้อมูลคุ้มครองสิทธิประโยชน์แรงงานต่างชาติ” ที่หมวด “สืบค้นการเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างชาติ” แล้วเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2564 และยังอยู่ภายในระยะเวลาที่สามารถโอนย้ายนายจ้างได้ แล้วยังไม่มีนายจ้างใหม่รับโอนย้าย จะได้รับอนุญาตให้โอนย้ายนายจ้างได้ใหม่โดยอัตโนมัติใหม่ภายในระยะเวลา 60 วัน ตามระบบ แรงงานต่างชาติสามารถตรวจสอบความคืบหน้าได้ที่หมวด “สืบค้นการเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างชาติ” ของเว็บไซต์ข้อมูลคุ้มครองสิทธิประโยชน์แรงงานต่างชาติ ส่วนแรงงานต่างชาติที่ยังไม่ได้ยื่นคำขอโอนย้ายนายจ้าง หรือลงทะเบียนโอนย้ายนายจ้าง ให้ยื่นคำขอต่อกระทรวงแรงงานหรือศูนย์บริการจัดหางานของรัฐภายในระยะเวลาที่กำหนด

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13

ความสัมพันธ์ในการจ้างงานระหว่างนายจ้างและแรงงานต่างชาติเริ่มมีผลทันทีในวันที่แรงงานต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ ตามหลักการแล้ว นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้าง แต่แรงงานต่างชาติไม่ได้ทำงานใช้แรงงานทันทีหลังจากเดินทางเข้าประเทศแล้ว ต้องพิจารณาโดยขึ้นอยู่กับเหตุผลที่ไม่ได้ทำงานใช้แรงงาน และพิจารณาจากอาชีพ เช่น หากเป็นแรงงานต่างชาติในภาคอุตสาหกรรม จะต้องจัดการตามกฎหมายมาตรฐานแรงงาน และกฎระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ แรงงานต่างชาติในภาคครัวเรือนจะต้องจัดการสัญญาจ้างงาน หากไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาจ้างงาน ให้จัดการตามที่แรงงานและนายจ้างเจรจาตกลงกันสองฝ่าย

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13

นายจ้างสามารถกรอกแบบฟอร์มคำขอเปลี่ยนแปลงข้อมูล NAF-022-4 ทำเครื่องหมายถูกที่ช่องเหตุผลอื่นๆ และยื่นต่อกระทรวงแรงงาน หลังจากกระทรวงแรงงานพิจารณาตรวจสอบแล้ว จะออกจดหมายอนุมัติการโอนย้ายนายจ้างให้ใหม่ นายจ้างจะต้องดำเนินการลงทะเบียนเปลี่ยนนายจ้างที่ศูนย์บริการจัดหางานของรัฐภายในระยะเวลา 14 วัน หลังจากจดหมายอนุญาตการโอนย้ายนายจ้างส่งไปถึง

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13

แรงงานต่างชาติในภาคครัวเรือนหรือนายจ้างจะต้องไปดำเนินการลงทะเบียนเปลี่ยนนายจ้างที่ศูนย์บริการจัดหางานของรัฐ ถัดจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ภายในระยะเวลา 14 วัน

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13

แรงงานต่างชาติในภาคครัวเรือนที่กระทรวงแรงงานยังไม่ได้อนุมัติให้โอนย้ายนายจ้างตั้งแต่แรก สามารถดำเนินกระบวนการยื่นขออนุญาตจากกระทรวงแรงงานเพื่อโอนย้ายนายจ้างได้ใหม่ ถัดจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ภายในระยะเวลา 60 วัน หากนายจ้างไม่ยื่นขอภายในระยะเวลาดังกล่าว สามารถยื่นขอเพิ่มเติมในภายหลังได้ไม่เกิน 15 วัน ถัดจากระยะเวลาที่กล่าวข้างต้น โดยจำกัดเพียง 1 ครั้งเท่านั้น และหลังจากกระทรวงแรงงานส่งจดหมายอนุมัติให้โอนย้ายนายจ้างแล้ว จะต้องดำเนินการลงทะเบียนเปลี่ยนนายจ้างที่ศูนย์บริการจัดหางานของรัฐ ภายในระยะเวลา 14 วัน

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13

ถัดจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป กระทรวงแรงงานอนุญาตให้โอนย้ายนายจ้างได้ใหม่โดยอัตโนมัติใหม่ภายในระยะเวลา 60 วัน ผ่านระบบการโอนย้ายนายจ้าง หากแรงงานต่างชาติในภาคครัวเรือนต้องการยกเลิกประกาศการโอนย้ายนายจ้าง จะต้องดำเนินการยื่นขอเพิกถอนที่ศูนย์บริการจัดหางานของรัฐที่ลงทะเบียนประกาศการโอนย้ายนายจ้างไว้

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13

ไม่ได้ ศูนย์บัญชาการควบคุมโรค ระบุว่า แรงงานต่างชาติที่ทำงานในภาคครัวเรือนเท่านั้นที่จะสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ โดยมีนายจ้างในภาคครัวเรือนรับโอนย้าย แรงงานต่างชาติในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ครบกำหนดสัญญา ไม่สามารถโอนย้ายนายจ้างข้ามประเภทงานได้

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13

ก่อนที่แรงงานต่างชาติจะมีนายจ้างใหม่รับโอนย้าย นายจ้างเดิมยังคงมีหน้าที่รับผิดชอบช แต่สำหรับค่าที่พัก เมื่อคำนึงถึงความสัมพันธ์ในการว่าจ้างระหว่างสองฝ่ายสิ้นสุดแล้ว และการชะลอการโอนย้ายนายจ้างหรือเปลี่ยนงานสืบเนื่องมาจากผลกระทบของสถานการณ์โรคระบาด ดังนั้น ค่าที่พักที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย นายจ้างและแรงงานต่างชาติสามารถเจรจาต่อรองกันเองได้ แต่ราคาต้องสมเหตุสมผล

  • วันที่ประกาศ :2021/08/11
  • วันที่อัพเดท :2021/08/13